วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

SP3 เริ่มต้นเขียน HTML





มาทำความรู้จักกับ 💬😁
 HTML ซึ่งย่อมาจากคำว่า "Hyper Text Markup Language"

เป็นภาษาหลักที่ใช้สร้างเว็บเพจ


เราลองมาเริ่มต้นเขียนเว็บแบบง่ายๆกันเลยดีกว่า !! 😜😜😜


1. เปิด Notepad ขึ้นมา แล้วพิมพ์ Tag ตามรูปด้านล่าง


จากภาพเป็น Tag พื้นฐานของ HTML

HTML มีโครงสร้างคือการเขียน Tag 
เพื่อควบคุมการแสดงผล ข้อความ รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ

Tag : <html>...</html> เป็นส่วนประกาศหัวและท้ายของเอกสารที่ทำให้รู้ว่าเป็นข้อมูลของเอกสารนั้นๆ
Tag : <head>...</head> เป็นส่วนหัวของเอกสาร ภายในจะมี Tag <title>
Tag : <title>...</title> ใช้สำหรับกำหนดชื่อเอกสาร
Tag : <body>...</body> เป็นส่วนที่ใส่รายละเอียดที่ต้องการให้แสดงบนหน้าเว็บไซต์ของเราทั้งหมด

😜😜😜😜😜😜


2. เมื่อพิมพ์ข้อมูลลงไปใน Tag
แล้วบันทึกไฟล์ และเปลี่ยนสกุลไฟล์ให้เป็น .html 


จากภาพ คือตัวอย่างการใส่เนื้อหาลงใน Tag 

😜😜😜😜😜😜


3. เปิดไฟล์ที่บันทึกไว้ด้วยเบราว์เซอร์
เช่น IE (Internet Explorer), Google Chrome, Mozilla Firefox, Safari หรืออื่นๆ


จากภาพ คือผลลัพธ์ที่ได้จากการเขียนด้วย HTML 


จากหมายเลข 1 คือ ผลลัพธ์ของ Tag : <title>...</title>
จากหมายเลข 2 คือ ผลลัพธ์ของ Tag : <body>...</body>

---------------------------------------------------------------------------------------------------------
😜😜😜😜😜😜


ส่วนประกอบที่สำคัญของ HTML

ได้แก่ Tag และ Attribute

Tag คือ คำสั่งที่ใช้ในภาษา HTML  และจะอยู่ในเครื่องหมาย < >
ใช้สำหรับกำหนดค่าต่างๆให้กับข้อมูลในเอกสาร
ส่วนมากใน HTML จะมี Tag เปิด และปิด
เช่น 
<h1>...</h1> ใช้เน้นหัวข้อ
<b>...</b> ใช้กำหนดให้ตัวอักษรหนา
<table>...<table>  เป็นคำสั่งสร้างตาราง

แต่บาง Tag ก็มีแต่ Tag เปิด ไม่มี Tag ปิด
เช่น
<br> เป็นคำสั่งขึ้นบรรทัดใหม่
<hr> ใช้สร้างเส้นขั้น

Attribute คือ เป็นส่วนขยายใน Tag ใช้สำหรับจัดรูปแบบเพิ่มเติม 
และค่าของ Attribute จะอยู่ในรูป " "
เช่น

<table border = "1" bordercolor = "red" width = "500" height = "500">
   <tr>
          <td valign = "top">...</td>
          <td align = "right">...</td>
   </tr>
</table>

******************
จากตัวอย่างด้านบน ตัวอักษรสีแดง คือ Attribute

<table>...</table>  เป็น Tag สำหรับการสร้างตาราง

<tr>...</tr>  เป็น Tag สำหรับการสร้างแถวภายในตาราง 
และ Tag นี้ต้องอยู่ภายใน Tag  <table>...</table>

<td>...</td>  เป็น Tag สำหรับการสร้างคอลัมภ์ภายในแถวของตาราง 
และ Tag นี้ต้องอยู่ภายใน Tag  <tr>...</tr>


---------------------------------------------------------------------------------------------------------
😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇




มาถึงตรงนี้แล้วจะเห็นว่าการเขียน HTML นั้นง่ายมากเลยใช่ไหมทุกคน

จริงๆ แล้วการสร้างไฟล์ HTML นั้นสามารถใช้เครื่องมือได้หลากหลายมาก
แต่ในบทต่อๆ ไป เราจะใช้เครื่องมือที่ชื่อ "Edit Plus"

เริ่มต้นโดยการเลือก File --> New --> HTML Page 



เราจะมาทำความรู้จักกับคำสั่ง หรือ Tag ของ HTML ให้มากขึ้นกัน

จากภาพ คือตัวอย่างจากการเขียน HTML เบื้องต้น


จากภาพ คือผลลัพธ์ที่ได้จากการเขียนด้วย HTML 


<h1>Topic</h1> 
: Tag หัวข้อ

Content 1 
: ข้อความปกติ

<b>Content 2</b> 
: Tag ตัวหนา

<br> 
: Tag สำหรับเว้นบรรทัด (Tag นี้จะไม่มี Tag ปิด)

<hr> 
: Tag เส้นขั้น (Tag นี้จะไม่มี Tag ปิด)

Content 3 
: ข้อความปกติ

<table border = "1" bordercolor = "red" width = "500" height = "500"> 
: Tag สร้างตาราง 
มี Attribute ขยาย คือ 

border หมายถึง ขนาดของขอบตาราง หน่วยเป็น pixel 
ถ้าใส่ 0 จะไม่แสดงขอบตาราง ,

bordercolor หมายถึง สีของขอบตาราง ,

width หมายถึง กำหนดความกว้างของตาราง มีหน่วยเป็น % และ pixel
หากใส่เป็น % ความกว้างจะขยายตามหน้าต่างของเบราว์เซอร์ที่เปิด ,

height หมายถึง กำหนดความสูงของตาราง หน่วยเป็น pixel เท่านั้น

<tr> 
: Tag สร้างแถวภายในตาราง 

<td valign = "top"> AAA </td> 
: Tag สร้างคอลัมภ์ภายในแถวของตาราง 
มี Attribute ขยาย คือ 
valign หมายถึง การกำหนดการจัดวางข้อความอยู่ในตารางตามแนวตั้ง
โดยส่วนขยายของ valign มีดังนี้ Top, middle, bottom

<td align = "right"> BBB </td> 
: Tag สร้างคอลัมภ์ภายในแถวของตาราง 
มี Attribute ขยาย คือ 
align หมายถึง การกำหนดการจัดวางข้อความอยู่ในตารางตามแนวนอน
โดยส่วนขยายของ align มีดังนี้ Left, Center, Right

---------------------------------------------------------------------------------------------------------
😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇



จากภาพ คือ การเปรียบเทียบขนาดของตัวอักษรจาก Tag h(1-6)

จากภาพ คือ ผลลัพธ์จากการเปรียบเทียบขนาดของตัวอักษรจาก Tag h(1-6)


จากภาพ คือ Tag b คือ ตัวหนา, u คือ ขีดเส้นใต้, i คือตัวเอียง

จากภาพ คือ ผลลัพธ์จาก Tag b , u , i


จากภาพ คือ การแทรกภาพ 
โดย Tag แรก คือ แทรกภาพจากเครื่อง 
และภาที่ 2 คือ แทรกภาพจากอินเตอร์เน็ต



จากภาพ คือ ผลลัพธ์จากการแทรกภาพ 
โดย Tag แรก คือ แทรกภาพจากเครื่อง 
และภาที่ 2 คือ แทรกภาพจากอินเตอร์เน็ต











วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

SP2 สัญลักษณ์ในการเขียน Flowchart


จากความเดิมตอนที่แล้ว ที่ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า

สัญลักษณ์ของการเขียน Flowchart ก็มีความหมายในตัวของมันเอง

 ดังนั้น ในบทความนี้จะมาเขียนเรื่องความหมายของสัญลักษณ์ Flowchart ที่นิยมใช้ให้ทุกคนรู้จัก และจะได้ง่ายต่อการนำไปใช้นะคะ 😆😆😆

สัญลักษณ์ที่นิยมใช้หลักๆ

 


1. START / END
ใช้แสดงจุดเริ่มต้น และสิ้นสุดของการใช้งานโปรแกรม



2. MANUAL INPUT / KEYBOARD
การป้อนข้อมูลผ่านทางแป้นพิมพ์



3. INPUT / OUTPUT DATA
รับข้อมูล / แสดงข้อมูลโดยไม่ระบุชนิดอุปกรณ์


4. DECISION
การเปรียบเทียบเพื่อการตัดสินใจ ใช้ตรวจสอบเงื่อนไข




5. PREPARATION
การเตรียมทำงานลำดับต่อไป



 6. DOCUMENT / PRINTER
แสดงผลทางเครื่องพิม์ (Printer)



7. IN-PAGE CONNECTOR
จุดเชื่อมต่อ Flowchart ในหน้าเดียวกัน








8. OFFPAGE / BETWEEN-PAGE CONNECTOR
จุดเชื่อมต่อ Flowchart ที่อยู่ต่างหน้ากัน



9. PROCESS
ประมวลผล หรือกำหนดค่าให้กับตัวแปร




10. MONITOR
แสดงผลออกทางจอภาพ



11. FLOW LINE / DIRECTION
ลูกศรแสดงทิศทางการทำงานของ Flowchart
  ตัวอย่างการเใช้สัญลักษณ์การเขียน FLOWCHART
 



 




วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

SP1 อยากเริ่มต้นเขียนโปรแกรม

 

 

อยากลองเขียนโปรแกรมอ่ะ

แต่...ไม่รู้จะเริ่มยังไง? ไม่รู้จะเริ่มจากอะไร?

เปิดคอม...แล้ว...เจอ.... “!@#$%^&*()_$%^&&$#@#$%^&^%$#@#$%^”

เอิ่มมม เยอะขนาดนี้แล้วตูจะเริ่มยังไงวะเนี่ยยยยย -*- 😵😵😵

จะบอกว่า คือ ความรู้สึกเดียวกันค่ะ เราก็เป็นแบบนี้มาอยู่หลายปี!!

ดังนั้น จะมาแบ่งปันเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมให้ดูง่ายๆในแบบของเรานะคะ

ใครสนใจ อยากศึกษา รอติดตามกันได้เลยนะคะ

🙋🙋🙋

เริ่มต้น อยากให้ทุกคน รู้จักคำว่า "Algorithm" แบบสั้นๆกันก่อน


เพราะมันสำคัญมากกับการเขียนโปรแกรม


Algorithm แปลตรงๆ คือ ขั้นตอนวิธี

พูดง่ายๆ ก็คือ

ขั้นตอนวิธีการ ที่จะทำให้เราจัดลำดับกระบวนการต่างๆ ให้เป็นลำดับขั้น 
เพื่อนำไปเขียนโปรแกรมได้ง่าย


ประโยชน์ ของการเขียน Algorithm

เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน ทำให้ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจ และนำไปเขียนโปรแกรมได้ง่าย

ปล. ถ้าใครอ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือต้องการความชัดเจนมากขึ้น ลองค้นหาจาก Google ดูนะคะ มีเพียบเลยค่ะ 😅😅
อันนี้แค่ฉบับย่อ ที่จะทำให้ดูกระชับและเข้าใจง่ายค่ะ

--------------------------------------------------------------------------------------------

ประเภทของ Algorithm ที่นิยมใช้กัน มี 2 ประเภท    💬


1. Pseudo code รหัสจำลอง หรือ รหัสเทียม  คือการเขียนขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม ที่จะช่วยให้พัฒนาโปรแกรมตามขั้นตอนต่างๆ  ให้ง่ายขึ้น 

ตัวอย่างการเขียน Pseudo code การต้มไข่

1. เตรียมไข่และน้ำเปล่า

2. ต้มน้ำให้เดือด

3. ใส่ไข่

4. รอ 5 - 10 นาที

5. ปิดเตา

6. ปอกไข่

7. ได้ไข่ต้มสุก


2. Flowchart ผังงาน คือ การแสดงขั้นตอนการทำงานในลักษณะของรูปภาพหรือสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐาน ไม่อ้างอิงภาษาใดภาษาหนึ่ง ทำให้เห็นลำดับการทำงานก่อนหลังได้ชัดเจน

ตัวอย่าง การเขียน Flowchart การต้มไข่


เย้~~~ 😄😄🎊🎊 เห็นไหมคะ การเขียนอัลกอริทึม ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหมล่ะ 

จริงๆแล้ว การเขียนอัลกอริทึม คือการเรียบเรียงสิ่งที่ต้องทำให้เป็นลำดับ เป็นขั้นเป็นตอน
เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ต่อไปนั่นเอง 😝💓🎉🎉🎉

--------------------------------------------------------------------------------------------
 การเขียนอัลกอริทึมแบบมีโครงสร้าง มี 3 แบบ คือ  💭

1.       โครงสร้างแบบลำดับ (Sequence structure)  
เช่น ขั้นตอนการต้มไข่
2.       โครงสร้างแบบทางเลือก (Selection structure
เช่น การซื้อไข่
 3.       โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Iteration structure หรือ Repetition structure)  
เช่น วงจรการใช้ชีวิตมนุษย์เงินเดือน


เย้~~~ 🎊🎊 นี่แหละค่ะ ตัวอย่างโครงสร้างของการเขียนอัลกอริทึม แบบง่ายๆ เพื่อให้คนที่ไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อนเข้าใจมากขึ้น แต่สัญลักษณ์ของการ Flowchart ก็มีความหมายในตัวของมันเองด้วยนะคะ 

ยังไงจะมาอธิบายต่อในตอนถัดไปนะคะห หากมีคำถามหรือสงสัยอะไร ถามได้นะคะ
ตอบทุกคนแน่นอนค่าาา 😝💓🎉🎉🎉



ปล. เราพยายามเขียนให้สั้นกระชับ และเข้าใจง่าย เนื่องจาก เราเองไม่ค่อยชอบอ่านตัวอักษรเยอะๆ เลยพยายามทำให้สั้นๆตามความเข้าใจตัวเองเลยยย แหะๆ😅😅😅
--------------------------------------------------------------------------------------------