วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

SP1 อยากเริ่มต้นเขียนโปรแกรม

 

 

อยากลองเขียนโปรแกรมอ่ะ

แต่...ไม่รู้จะเริ่มยังไง? ไม่รู้จะเริ่มจากอะไร?

เปิดคอม...แล้ว...เจอ.... “!@#$%^&*()_$%^&&$#@#$%^&^%$#@#$%^”

เอิ่มมม เยอะขนาดนี้แล้วตูจะเริ่มยังไงวะเนี่ยยยยย -*- 😵😵😵

จะบอกว่า คือ ความรู้สึกเดียวกันค่ะ เราก็เป็นแบบนี้มาอยู่หลายปี!!

ดังนั้น จะมาแบ่งปันเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมให้ดูง่ายๆในแบบของเรานะคะ

ใครสนใจ อยากศึกษา รอติดตามกันได้เลยนะคะ

🙋🙋🙋

เริ่มต้น อยากให้ทุกคน รู้จักคำว่า "Algorithm" แบบสั้นๆกันก่อน


เพราะมันสำคัญมากกับการเขียนโปรแกรม


Algorithm แปลตรงๆ คือ ขั้นตอนวิธี

พูดง่ายๆ ก็คือ

ขั้นตอนวิธีการ ที่จะทำให้เราจัดลำดับกระบวนการต่างๆ ให้เป็นลำดับขั้น 
เพื่อนำไปเขียนโปรแกรมได้ง่าย


ประโยชน์ ของการเขียน Algorithm

เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน ทำให้ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจ และนำไปเขียนโปรแกรมได้ง่าย

ปล. ถ้าใครอ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือต้องการความชัดเจนมากขึ้น ลองค้นหาจาก Google ดูนะคะ มีเพียบเลยค่ะ 😅😅
อันนี้แค่ฉบับย่อ ที่จะทำให้ดูกระชับและเข้าใจง่ายค่ะ

--------------------------------------------------------------------------------------------

ประเภทของ Algorithm ที่นิยมใช้กัน มี 2 ประเภท    💬


1. Pseudo code รหัสจำลอง หรือ รหัสเทียม  คือการเขียนขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม ที่จะช่วยให้พัฒนาโปรแกรมตามขั้นตอนต่างๆ  ให้ง่ายขึ้น 

ตัวอย่างการเขียน Pseudo code การต้มไข่

1. เตรียมไข่และน้ำเปล่า

2. ต้มน้ำให้เดือด

3. ใส่ไข่

4. รอ 5 - 10 นาที

5. ปิดเตา

6. ปอกไข่

7. ได้ไข่ต้มสุก


2. Flowchart ผังงาน คือ การแสดงขั้นตอนการทำงานในลักษณะของรูปภาพหรือสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐาน ไม่อ้างอิงภาษาใดภาษาหนึ่ง ทำให้เห็นลำดับการทำงานก่อนหลังได้ชัดเจน

ตัวอย่าง การเขียน Flowchart การต้มไข่


เย้~~~ 😄😄🎊🎊 เห็นไหมคะ การเขียนอัลกอริทึม ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหมล่ะ 

จริงๆแล้ว การเขียนอัลกอริทึม คือการเรียบเรียงสิ่งที่ต้องทำให้เป็นลำดับ เป็นขั้นเป็นตอน
เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ต่อไปนั่นเอง 😝💓🎉🎉🎉

--------------------------------------------------------------------------------------------
 การเขียนอัลกอริทึมแบบมีโครงสร้าง มี 3 แบบ คือ  💭

1.       โครงสร้างแบบลำดับ (Sequence structure)  
เช่น ขั้นตอนการต้มไข่
2.       โครงสร้างแบบทางเลือก (Selection structure
เช่น การซื้อไข่
 3.       โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Iteration structure หรือ Repetition structure)  
เช่น วงจรการใช้ชีวิตมนุษย์เงินเดือน


เย้~~~ 🎊🎊 นี่แหละค่ะ ตัวอย่างโครงสร้างของการเขียนอัลกอริทึม แบบง่ายๆ เพื่อให้คนที่ไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อนเข้าใจมากขึ้น แต่สัญลักษณ์ของการ Flowchart ก็มีความหมายในตัวของมันเองด้วยนะคะ 

ยังไงจะมาอธิบายต่อในตอนถัดไปนะคะห หากมีคำถามหรือสงสัยอะไร ถามได้นะคะ
ตอบทุกคนแน่นอนค่าาา 😝💓🎉🎉🎉



ปล. เราพยายามเขียนให้สั้นกระชับ และเข้าใจง่าย เนื่องจาก เราเองไม่ค่อยชอบอ่านตัวอักษรเยอะๆ เลยพยายามทำให้สั้นๆตามความเข้าใจตัวเองเลยยย แหะๆ😅😅😅
--------------------------------------------------------------------------------------------

1 ความคิดเห็น:

  1. เข้าใจง่ายมากค่ะ ขอบคุณค่ะที่มาแชร์ความรู้ดดีดี

    ตอบลบ